ประวัติความเป็นมา
ในสมัยมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ยังเป็นวิทยาลัยครูจันทบุรีอยู่นั้นได้ดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมสู่ชุมชนในฐานะที่เป็นหน่วยประเคราะห์ทางวัฒนธรรมของคณะกรรมการวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการแห่งชาติ โดยมีนายสมนึก บุญจิต หัวหน้าคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในขณะนั้นเป็นหัวหน้าหน่วย ต่อมาหน่วยประเคราะห์ทางวัฒนธรรมได้ขยายงานใหญ่ขึ้นเป็นศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี โดยมีอธิการบดีของ วิทยาลัยครูเป็นประธานศูนย์วัฒนธรรมโดยตำแหน่งมีการดำเนินงานในรูปของคณะอนุกรรมการวัฒนธรรมจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีศึกษาธิการจังหวัดและประธานศูนย์วัฒนธรรมเป็นรองประธาน คณะกรรมการประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นหัวหน้าหน่วยงานในจังหวัด และผู้ทรงคุณวุฒิรวม ๓๐ คน รวมทั้งเลขานุการศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด (หัวหน้าศูนย์ศิลปวัฒนธรรมของวิทยาลัย) เป็นกรรมการ
ใน พ.ศ. ๒๕๒๘ วิทยาลัยครูได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยรำไพพรรณี ตามพระนามสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพร้อมกับจัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมขึ้นในหน่วยงาน โดยมีหัวหน้าศูนย์ดังต่อไปนี้
๑. นายสมนึก บุญจิต พ.ศ. ๒๕๑๕ – ๒๕๒๔
๒. นายกฤษณ์ เจียมโฆสิต พ.ศ. ๒๕๒๔ – ๒๕๒๘
๓. นายศุภวัฒน์ เอมโอช พ.ศ. ๒๕๒๘ – ๒๕๓๓
๔. นายสง่า สืบเพ็ง พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๕
วิทยาลัยรำไพพรรณี เปลี่ยนเป็นสถาบันราชภัฏรำไพพรรณี พ.ศ. ๒๕๓๕
๕. ร.ศ. เกษิณี ผลประพฤติ พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๓๘
๖. นายทองทิพย์ โคตรศรี พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๔๐
๗. นางสาววันทนา ทองกลม พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๔๒
๘. นายณรงค์ ต่อสุวรรณ พ.ศ. ๒๕๔๓ – ๒๕๔๖
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี ได้เปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยมีการกำหนดหน่วยงานใหม่จากศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเปลี่ยนเป็น “สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน”
๙. นายปราโมทย์ สุวรรณา พ.ศ. ๒๕๔๗ – ๒๕๕๒
๑๐. รศ.นันทนีย์ กมลศิริพิชัยพร พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๕
๑๑. นายปราโมทย์ สุวรรณา พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๖๓
๑๒. ผศ. ดร.ปรียานันท์ สิทธิจินดาร์ (เม.ย. ๒๕๖๓ – เม.ย. ๒๕๖๔)
๑๓. ผศ. วารินทร์ สุภาภรณ์ ๕ เม.ย. ๒๕๖๔ – ปัจจุบัน
ปัจจุบัน สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน มีคณะผู้บริหารใหม่ดังนี้
๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วารินทร์ สุภาภรณ์ ดำรงตำแหน่ง รักษาการผู้อำนวยการฯ
๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชลัดดา อุ่นสะอาด ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการฯ
๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรโชค พิชญ อู๋สมบูรณ์ ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการฯ
๔. อาจารย์ชัชวาล มากสินธ์ ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการฯ
สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชนเป็นโครงสร้างส่วนราชการที่ถูกกำหนด ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ๒๕๔๗ โดยกำหนดให้มีภารกิจและบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมทำนุบำรุงสืบสาน พัฒนาการถ่ายทอดและ การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่นโดยเฉพาะภูมิปัญญา ที่เกิดจากท้องถิ่น นอกจากนั้นสถาบันยังมีสิ่งที่มีคุณค่าทางประวิติศาสตร์ คือ พระตำหนักใหญ่ (ตำหนักเทา) และพระตำหนักดอนแค (ตำหนักแดง) รวมถึงเขตพระราชฐานทั้งหมดของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ ซึ่งพระองค์ได้ทรงริเริ่มโครงการส่งเสริมงานด้านศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านในจังหวัดจันทบุรีให้ราษฎรได้มีรายได้และเรียนรู้การพึ่งตนเอง มหาวิทยาลัยฯ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมเพื่อสืบทอดคุณค่าทางประวัติศาสตร์และยังพัฒนาเข้าสู่ระบบการท่องเที่ยวของจังหวัดด้วย
ติดต่อ : สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน
๔๑ หมู่ที่ ๕ ตำบลท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี ๒๒๐๐๐ | โทร. ๐๓๙-๔๗๑๐๖๔,๐๓๙-๓๑๙๑๑๑ ต่อ ๗๐๐๑