หน้าที่ความรับผิดชอบ

กลุ่มงานในสำนักศิลปวัฒนธรรมฯ

หน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มงานในสำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน

สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ได้กำหนดโครงสร้างการบริหารงานเป็น ๖ กลุ่มงาน ดังนี้

    ๑. กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป

    ๑.๑   งานธุรการ
    ๑.๒   งานการเงินและพัสดุ
    ๑.๓   งานนโยบายและแผน
    ๑.๔   งานการเจ้าหน้าที่
    ๑.๕   งานประกันคุณภาพ
    ๑.๖   งานประชาสัมพันธ์
    ๑.๗   งานจัดหารายได้

    หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

      - เลขานุการของผู้บริหารหน่วยงาน
      - จัดการประชุมและเตรียมเอกสารต่าง ๆ เช่นวาระการประชุม บันทึก การประชุม ฯลฯ
      - จัดทำหนังสือประชุม และรายงานการประชุมของหน่วยงาน
      - จัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวกับโครงการประจำปี และโครงการพิเศษ
      - รวบรวมและจัดเสนอโครงการ งบประมาณของฝ่ายต่าง ๆ ในสถาบัน
      - ประสานงานทั่วไป ทั้งภายใน และภายนอกหน่วยงาน
      - จัดบริการให้ยืมหนังสือ วัสดุอุปกรณ์ ด้านศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาฯลฯ
      - ประสานงานเกี่ยวกับหนังสือราชการกับฝ่ายธุรการของมหาวิทยาลัย
      - การรับและโต้ตอบหนังสือราชการ
      - การเวียนหนังสือราชการ
      - การจัดและรวบรวม ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ ฯลฯ
      - จัดระบบการเก็บหนังสือราชการทุกชนิด
      - ทำลายหนังสือราชการเมื่อถึงเวลา
      - มอบหมายภาระงานแก่บุคลากรในสำนักฯ
      - ควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักให้เป็นไปตามภาระงาน
      - ประเมินการปฏิบัติงานขั้นต้นเพื่อเสนอต่อมหาวิทยาลัย
      - จัดระบบงานสารบรรณ และงานธุรการต่าง ๆ ตามระเบียบราชการ
      - รับ – ส่งหนังสือราชการ ลงทะเบียนหนังสือเข้า - หนังสือออกทั้งภายในและภายนอก
      - จัดทำและดูแลเก็บหนังสือ ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งต่าง ๆ
      - ถ่ายเอกสาร จัดทำหนังสือราชการและรับ - ส่งหนังสือราชการของสถาบันอยุธยาศึกษา
      - จัดดูแลการใช้จ่ายเรื่องสาธารณูปโภคของสำนักฯ
      - ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในนอกสำนักฯ
      - ร่าง พิมพ์ ลงทะเบียนรับ – ส่งหนังสือราชการภายในและภายนอก
      - จัดทำหนังสือราชการทุกชนิด
      - รับจ่ายเงินทุกประเภท ทำบัญชีการรับจ่ายเงินในระบบและนอกระบบราชการ
      - จัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ จัดจ้างและซ่อมบำรุง ครุภัณฑ์
      - จัดทำทะเบียนคุมการใช้วัสดุสำนักงานของสำนักฯจัดทำบัญชีพัสดุ และครุภัณฑ์
      - ประสานงานกับส่วนต่าง ๆ ในการทำงบประมาณประจำปีของสำนักฯ
      -ควบคุมการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ และกิจกรรมทำบัญชีงบประมาณของสำนักฯ, ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณของสำนักฯ, ดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง จัดเก็บรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์, จัดทำบัญชี พัสดุ ครุภัณฑ์ ให้เป็นหมวดหมู่
      - จัดทำบัญชีรับ-จ่ายตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
      - ขออนุญาตซื้อ-จ้างตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
      - จัดทำบัญชีควบคุมการใช้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
      - จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินเสนอผู้อำนวยการและผู้เกี่ยวข้องทุกเดือน
      - ดำเนินงานจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดรายได้
      - จัดบริการจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และของที่ระลึก
      - บริการให้เช่าสถานที่จัดงานประเพณีต่าง ๆ
      - บริการให้เช่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม
      - ประสานงานกับฝ่ายการเงินในการจัดเก็บรายได้
      - วางแผนดำเนินงานในการจัดหารายได้ ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
      - จัดประชุมกำหนดนโยบาย พันธกิจ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และจุดประสงค์ของสำนักฯ
      - วางแผนและดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ตามแผนปฏิบัติงานของสำนักฯ
      - พัฒนาและสร้างมาตรฐานงานด้านศิลปวัฒนธรรม
      - ประสานงานการจัดงบประมาณ และโครงการต่าง ๆ เพื่อให้การใช้งบประมาณเกิดประโยชน์
      - จัดทำแผนแม่บทและแผนพัฒนาของสำนักฯ
      - จัดตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพ
      - ดำเนินการประเมินตามแผนประกันคุณภาพทุกปีอย่างต่อเนื่อง
      - มีการพัฒนา แผนงาน กิจกรรม และสร้างความเข้าใจร่วมกันภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน
      - จัดทำเอกสารประกันคุณภาพรายงานมหาวิทยาลัยฯ
      - จัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปีการศึกษาและปีงบประมาณ
      - ดำเนินงานประกันคุณภาพของสำนักฯ ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
      - สร้างระบบและกลไกการประกันคุณภาพ ให้ได้รับรองจากหน่วยงานภายนอก
      - จัดทำรายงานการประเมินตนเองและรายงานประจำปีของสำนัก
      - จัดทำรายงานประจำปี
      - จัดทำรายงานประเมินตนเอง (SAR) ของสำนักฯเป็นระบบประกันคุณภาพ
      - จัดทำเอกสารและเว็บเพจ ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ของสำนักฯ
      - จัดทำจดหมายข่าว ของสถาบันฯ ทุกเดือนหรือทุกภาคเรียน
      - เตรียมข้อมูลต่าง ๆ เสนอฝ่ายประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยฯ เพื่อลงจดหมายข่าวประจำสัปดาห์
      - ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร และผลงานของสำนักฯ
      - จัดทำรายงานผลการทำกิจกรรมที่โดดเด่นเพื่อลงในหนังสือวารสาร
      - จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ภายในมหาวิทยาลัย
      - ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารของสำนักฯ
      - ประชาสัมพันธ์กิจกรรม
      - พัฒนาระบบฐานข้อมูลศิลปวัฒนธรรม และศาสนา
      - พัฒนาโฮมเพจของสำนักฯ
      - จัดทำระบบสารสนเทศของสำนักฯ
      - ถ่ายภาพกิจกรรมของสำนักฯ เพื่อจัดทำข้อมูลจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยฯ
      - แปลงข้อมูลจากม้วนวีดีโอที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมเป็นวีซีดีหรือดีวีดี
      - จัดทำจดหมายข่าวของสำนักฯ
      - จัดทำวารสารของสำนักฯ

    ๒. กลุ่มงานอนุรักษ์ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

    ๒.๑   งานอนุรักษ์ส่งเสริมพัฒนาและเผยแพร่วัฒนธรรม
    ๒.๒   งานประสานและสร้างเครือข่าย
    ๒.๓   งานส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมกับชุมชน
    ๒.๔   งานวิจัยและรวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรม
    ๒.๕   งานเผยแพร่นาฏศิลป์และดนตรี
    ๒.๖   งานกองทุนสนับสนุนงานวัฒนธรรม
    ๒.๗   งานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
    ๒.๘   งานบริการวิชาการ

    หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

      - สนับสนุน ส่งเสริม และอนุรักษ์ ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมของท้องถิ่น
      - ปฏิบัติงานเพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมอันเป็นขนบธรรมเนียม ประเพณี งานเทศกาล หรือ งานอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปวัฒนธรรม ทั้งใน และนอกสถานที่ ตลอดจน ในประเทศและต่างประเทศด้วย
      - อนุรักษ์และสืบสานผลงานของภูมิปัญญาท้องถิ่นทุกรูปแบบ
      - ส่งเสริมประสานงานรวมทั้งปฏิบัติการเพื่อให้เกิดกิจกรรมทางด้านจริยธรรม เช่น การรณรงค์ การประกวด และการฝึกอบรม เป็นต้น
      - รวบรวมบุคคลที่เป็นภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น ที่มีผลงานดีเด่น สาขาต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์สืบสาน
      - จัดกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ สืบสาน และปลูกจิตสำนึกทางด้านจริยธรรม คุณธรรมและความเอกลักษณ์ไทย เช่น มารยาทไทย การแต่งกายชุดไทย ฯลฯ
      - จัดทำแผนที่แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น
      - ดำเนินงานจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
      - จัดกิจกรรมบริการนักท่องเที่ยว ในรูปแบบต่าง ๆ เช่นข้อมูลการท่องเที่ยวอยุธยา แผนที่สถานที่ท่องเที่ยว วัดสำคัญ ๆ แหล่งโบราณสถาน ฯลฯ
      - ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ให้มาร่วมกิจกรรมบริการนักท่องเที่ยว
      - จัดการแสดงทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเพื่ออนุรักษ์สืบสานให้คงอยู่คู่สังคมไทย
      - ประสานการบริหารหน่วยอนุรักษ์ฯ กับสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      - ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นกับสมัชชาองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด
      - ส่งเสริมและเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นจันทบุรี เช่นการจัดอบรม จัดการแสดงทัศนศึกษา ฯลฯ
      - จัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ สนับสนุนพฤติกรรมทางด้านจริยธรรมและคุณธรรม
      - งานเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในรูปแบบการท่องเที่ยว
      - งานเผยแพร่ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจันทบุรีแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
      - สำรวจศึกษาสภาพแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจันทบุรี
      - จัดทำทะเบียนแหล่งท่องเที่ยวสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจันทบุรี
      - จัดประชุมคณะกรรมการหน่วยอนุรักษ์ฯ ของจังหวัดจันทบุรี
      - จัดประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการอนุรักษ์ฯ ให้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในท้องถิ่น
      - อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และศิลปกรรมท้องถิ่น
      - จัดกิจกรรมทุกรูปแบบเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และศิลปกรรมท้องถิ่น
      - อนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ศิลปะการแสดง ประเพณี และการละเล่นที่มีอยู่ในท้องถิ่น
      - สนับสนุนการจัดแสดงเพื่อเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม
      - ให้บริการจัดแสดงเพื่อเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม
      - จัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่เยาวชนและนักศึกษา
      - ร่วมมือกบหน่วยงานอื่นในการส่งเสริม และเผยแพร่คุณธรรมและจริยธรรมให้แก่เยาวชนและนักศึกษา
      - ร่วมมือ แลกเปลี่ยน ศิลปะและวัฒนธรรมระหว่างท้องถิ่นและระหว่างชาติ
      - สร้างเครือข่ายศิลปะและวัฒนธรรมกับหน่วยงานอื่น

    ๓. กลุ่มงานพิพิธภัณฑ์ข้อมูลท้องถิ่น

    ๔.๑   งานพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
    ๔.๒   งานศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้ารำไพพรรณี
    ๔.๓   งานพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมท้องถิ่น จังหวัดจันทบุรี
    ๔.๔   งานศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

    ๔. กลุ่มงานบริการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

    ๕.๑   งานประสานภาคี
    ๕.๒   งานอบรมและพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน
    ๕.๓   งานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
    ๕.๔   งานศูนย์ข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยววัฒนธรรมท้องถิ่น
    ๕.๕   งานศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น

    ๕. กลุ่มงานอนุรักษ์และพัฒนาพระตำหนัก

    ๖.๑   งานบูรณะพระตำหนักฯ
    ๖.๒   งานปรับปรุงภูมิทัศน์และอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสวนบ้านแก้ว

ติดต่อ : สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน

๔๑ หมู่ที่ ๕ ตำบลท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี ๒๒๐๐๐ | โทร. ๐๓๙-๔๗๑๐๖๔,๐๓๙-๓๑๙๑๑๑ ต่อ ๗๐๐๑