แผนและยุทธศาสตร์ประจำนัก

สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน

ยุทธศาสตร์ประจำสำนักฯ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑

ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
เป้าประสงค์ : งานวิจัยด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
ตัวชี้วัด : จำนวนผลงานวิจัยด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (๑ เรื่อง)
กลยุทธ์ : ๑.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการวิจัยด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒

พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การบริการวิชาการด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เป้าประสงค์ : มีศูนย์การเรียนรู้และมีระบบและกลไกการบริการวิชาการที่ตอบสนองตามความต้องการของชุมชน
ตัวชี้วัด
           ๑. จำนวนโครงการที่ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม (๓ โครงการ)
           ๒. จำนวนประชากรที่ได้รับบริการวิชาการและการพัฒนา (๓๐๐ คน)
           ๓. กลุ่มเป้าหมายมีร้อยละของการได้รับความรู้ความเข้าใจ ความพึงพอใจและการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับการบริการทางวิชาการ (กลุ่ม ๑ ๙๐/๘๐/๗๕,กลุ่ม ๒ ๗๕/๗๕/๖๕)
กลยุทธ์
           ๒.๑ มีศูนย์การเรียนรู้ให้บริการวิชาการที่สอดคล้องตามความต้องการของท้องถิ่น
           ๒.๒ ให้บริการวิชาการด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
           ๒.๓ ให้บริการวิชาการที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓

อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทำนุบำรุง ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของภาคตะวันออกและส่งเสริมวังสวนบ้านแก้วให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสู่ความเป็นสากล
เป้าประสงค์ การทำนุบำรุงศาสนาและศิลปวัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และวังสวนบ้านแก้ว
ตัวชี้วัด
           ๑. จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น (๑๘ โครงการ)
           ๒. จำนวนผู้มีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น (๒๕,๐๐๐ คน)และจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมวังสวนบ้านแก้ว ๒๑,๐๐๐ คน
           ๓. กลุ่มเป้าหมายมีร้อยละความพึงพอใจ ต่อการทำนุบำรุงศาสนาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ร้อยละ ๘๐ และร้อยละของผู้ที่เข้าเยี่ยมชมวังสวนบ้านแก้วได้รับความรู้ความเข้าใจ ความพึงพอใจและการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (กลุ่ม ๑ ๙๐/๘๐/๗๕,กลุ่ม ๒ ๗๕/๗๕/๖๕)
           ๔. ร้อยละของระดับความสำเร็จของโครงการตามวัตถุประสงค์ (ร้อยละ๙๐)
กลยุทธ์
           ๓.๑ พัฒนาวังสวนบ้านแก้วให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวของภาคตะวันออก
           ๓.๒ ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกทางวัฒนธรรมแก่นักศึกษา เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่นเพื่อให้ถึงคุณค่าเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรมโดยบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษาเอกลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี และเชิดชูภูมิปัญญาไทยโดยบูรณาการกับกระบวนการเรียนการสอน
           ๓.๓ ส่งเสริมให้วังสวนบ้านแก้วเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อบูรณาการเรียนการสอนในหลักสูตรต่างๆ
           ๓.๔ สนับสนุนให้มีการสร้างเครือข่ายด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔

พัฒนาระบบบริหารจัดการสำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน
เป้าประสงค์
           ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
ตัวชี้วัด
           ระดับความสำเร็จของเป้าหมายตามยุทธศาสตร์จากผลประเมินการประกันคุณภาพ (๓.๗๕)
กลยุทธ์
           ๔.๑ ส่งเสริมพัฒนาระบบบริหารจัดการหน่วยงานและบุคลากรให้มีทัศนคติ สร้างจิตสำนึกและความสามารถด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
           ๔.๒ พัฒนาระบบกลไกการประกันคุณภาพภายใน ระบบควบคุมการตรวจสอบภายใน และการบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ
           ๔.๓ พัฒนาและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ
           ๔.๔ มีการจัดหารายได้เพื่อนำมาพัฒนา"วังสวนบ้านแก้ว"
           ๔.๕ มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก สู่ความเป็นสากล

แผนปฏิบัติราชการ/งบประมาณ

ติดต่อ : สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน

๔๑ หมู่ที่ ๕ ตำบลท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี ๒๒๐๐๐ | โทร. ๐๓๙-๔๗๑๐๖๔,๐๓๙-๓๑๙๑๑๑ ต่อ ๗๐๐๑